รามคำแหง PRE-DEGREE คืออะไร เรียนอะไร เรียนทำไม


ชี้แจง บทความนี้เขียนไว้นานมาก และมีการปรับปรุงล่าสุดตอนผมอยู่ปี 1 มช ซึ่งผ่านมาเกือบจะสี่ปีแล้ว ตอนนี้ผมได้แตกบล็อกใหม่ที่เกี่ยวกับรามคำแหงออกไปโดยเฉพาะ พร้อมทั้งเขียนบทความนี้ใหม่ ในฉบับที่รวดรัดกว่าเดิม ซึ่งก็คือลิงค์นี้  >> https://ireanram.blogspot.com/2019/11/pre-degree-2560.html

แต่สำหรับใครที่อยากอ่านแบบละเอียดๆหน่อย และได้อารมณ์ย้อนยุค(ประมาณสี่ปี) ก็ยังสามารถอ่านบทความด้านล่างได้ต่อครับ ขอบคุณที่สนใจนะครับ

--------------------------------------------

ก่อนอื่นสวัสดีน้องๆที่เข้ามาอ่าน (รวมถึงท่านผู้อ่านทุกท่าน) นะครับ
ผมเองปัจจุบัน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ ทว่า ระหว่างที่ผมเรียนม.ปลายนั้น ผมได้ลงเรียนระบบ พรีดีกรี ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วยครับ และนี่คือสิ่งที่เราจะพูดถึงกันในบทความนี้
อ๋อออออ // ยัง!


พรีดีกรี คืออะไร?

มันคือการเรียนเก็บหน่วยกิตของหลักสูตรปริญญาตรี ในขณะที่ผู้เรียน ยังเรียนไม่จบการศึกษามัธยมปลายครับ หรือพูดง่ายๆก็คือ เรียนปริญญาไปด้วย เรียนม.ปลายไปด้วยนั่นแหละ
อ๋อออออ แบบนี้นั่นเองครับ
อ่าว แล้วจะรับปริญญายังไง จะสมัครยังไง จะสอบแบบไหนล่ะ
คืองี้ครับ ระบบออกแบบมาให้เราเก็บหน่วยกิตไปเรื่อยๆครับ เราจะยังมีสถานะเป็นพรีดีกรีเมื่อตอนสมัครครับ และเมื่อเราจบ ม.6 แล้ว ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ทำให้สถานะเป็นนักศึกษาเต็มตัวได้ครับ ตรงนี้จะอธิบายอย่างละเอียดอีกทีนะครับ เพราะคนเขียนก็ยังไม่ได้ไปทำ ตึ่งๆโป๊ะ! ตรงนี้สามารถหาอ่านได้จากลิงค์ด้านล่าง ที่มีคนอื่นถามไว้แล้วได้เลยครับ
อ่อ พอจะกระจ่างแล้วสินะ …?
แล้วเรียนยังไงล่ะ
การเรียน ของพรีดีกรี สำหรับผมคือการอ่านหนังสือ แล้วไปสอบครับ แต่ช้าแต่ ไม่ได้มีแค่การอ่านหนังสือนะครับ ถ้าน้องๆมีเวลา จะเปิดดูเทปการบรรยายของอาจารย์ก็ได้ครับ ส่วนกรณีเข้าไปนั่งเรียน(ส่วนกลาง) ทำได้ไหม อันนี้ไม่ทราบครับ (เหมือนจะได้นะ) ส่วนตัวเรียนที่ศูนย์วิทยบริการจ้า
ว่าด้วยเรื่องหนังสือ เทอมแรกจะโดนบังคับซื้อหนังสือของมหาวิทยาลัยครับ ลงกี่วิชาก็ซื้อแม่มหมดทุกวิชา! (เหมือนจะเก็บกด) ส่วนหลังจากนั้น ลงทะเบียนเฉยๆ หรือจะซื้อก็ได้ครับ อ้อ แต่ถ้าซื้อหนังสือของรามเนี่ย ได้แผ่น DVD บรรยายสรุปวิชานั้นด้วยนะครับ
อ่าว แล้วจะไปหาจากไหนมาอ่านล่ะ? >> ชีทรามครับ

ชีทราม หรือชีทหน้าราม ชีทเล่มแดง หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกนั้น มาจากชีทสรุปความรู้ และแนวข้อสอบจากกระบวนวิชาต่างๆครับ ซึ่งมีขายอยู่หน้า ม.รามฯ (มีหลายสำนักเลย)  ในกรุงเทพ สามารถสั่งทางไปรษณีย์ได้ถ้าจำไม่ผิด ซึ่งเค้าจะมาในฉบับย่อลงจากหนังสือเรียน + คำบรรยายของอาจารย์ + ข้อสอบนั่นแหละ อันไหนออกเยอะก็ดอกจันไว้ ก็หาแหล่งเอานะครับ อิอิ
ถามว่า อ่าว อย่างงี้มันไม่เป็นการไปทางลัดเหรอ? เพราะ นศ.หลายคน โดนว่าว่า เรียนรามแค่อ่านชีทก็จบแล้ว
ความหมายนั้น ผมว่าน่าจะหมายถึง ชีทแนวข้อสอบนะ เพราะหลายตัวที่อ่านชีทสรุปไม่ทัน แล้วอ่านข้อสอบเก่าๆพร้อมเฉลยเนี่ย ผ่านจริงครับ ได้ดีเลยที่เดียว ….. ย้ำ! ได้ D
ถ้ามีเวลามากพอ ชีทรามที่เป็นตัวสรุปเนี่ย อ่านมันส์มากครับ แถมได้ความรู้จริงๆด้วย โดยเฉพาะวิชาข้อเขียน(อัตนัย)เนี่ย การเข้าใจทะลุปรุโปร่ง จะเป็นประโยชน์ในการสอบมากๆครับ เราจะดึงอะไรหลายๆอย่างมาตอบได้ โดยที่แหวกแนวคำตอบจากชีทมา (หรือบางข้อเป็นคำถามใหม่ คำถามสถานการณ์ปัจจุบัน) // พูดเลยว่าดริฟกันมันส์มาก // แล้วก็ ถ้าเรียนแล้วไม่เข้าใจจะเรียนทำไมใช่ไหมครับ ^^
ส่วนถามว่า หนังสือของมหาวิทยาลัยนั้นดีไหม ถ้ามีเวลา หรือวิชาไหนชอบมากๆ จะอ่านก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดีครับ บางทีเอา DVD มาเปิดดูด้วย ก็ยิ่งได้เรียนกับอาจารย์ นับเป็นโอกาสที่ดีครับ
สรุปเรื่องหนังสือนี่ จะใช้อย่างไร ขึ้นอยู่กับเวลา และความเหมาะสมของแต่ละคนครับ แต่ข้อแนะนำของพี่คืออ่านเนื้อหาให้เข้าใจ ให้จบเล่มครับ จะชีทสรุป หรือจะหนังสือก็ตาม จากนั้นใช้แนวข้อสอบเป็นแนวทางอีกทีครับ
สอบบบบ เรียนแล้วก็ต้องสอบบบ
ใช่แล้วครับ ฮ่าๆ เรียนแล้วก็ต้องไปสอบครับ วันที่เขียนอยู่ก็เพิ่งสอบเสร็จมา สำหรับการไปสอบของน้องๆ ม.ปลายนั้น ก็ไปสอบที่ศูนย์สอบที่ได้เลือกไว้ ตอนลงทะเบียนเรียนครับ ไปสอบเหมือนนักศึกษาเลย
เพียงแต่ว่า เมื่อเรายังอยู่ม.ปลาย เรายังไม่มีชุดนักศึกษา ก็แต่งชุดนักเรียนไปครับ หรือจะชุดสุภาพก็ได้ครับ เช่นผมจบม.6 แล้ว ผมยาวมว๊ากก ไม่กล้าใส่ไปกลัวเค้าด่าสถาบัน 555+ แต่ถ้ายังเรียนอยู่ แนะนำชุดนักเรียนแหละครับ ง่ายดี จะขอความช่วยเหลืออะไรเค้าก็เอ็นดูเรา เพราะเรายังเป็นนักเรียนอยู่
วันไปสอบวันแรก ผมตื่นเต้นมาก แต่มีเพื่อนๆพี่ๆ ที่เป็นนักเรียนมาสอบกันหลายคนครับ ฉะนั้นไม่ต้องกลัวไม่มีเพื่อนครับ เจอแน่นอน ^^
เมื่อถึงเวลาทำข้อสอบ ก็ทำใจให้สอบ แล้วรับกรรมครับ หุๆ อ่านมายังไงก็ใส่ไปตามนั้นครับ ข้อสอบมีทั้งชอยส์ และเขียน แล้วแต่กระบวนวิชา(และสถานที่สอบ เช่นส่วนกลางเป็นชอยส์ ส่วนภูมิภาคเป็นเขียน ในกระบวนวิชาเดียวกันก็มี) เรื่องสอบนี่เขียนแยกอีกบทความได้เลยครับ มันมีอะไรหลายๆอย่างมาก
ก่อนสอบประมาณ 15 วัน หรือ 7 วัน (เอาแน่เอานอนไม่ได้) ตารางสอบจะมาถึงเราครับ เป็นใบม่วงๆ เก็บให้ดีครับ เผื่อบางศูนย์ใช้ยืนยันตัวแทนบัตรนศ.ได้ (แต่บัตร นศ.นี่ไม่ควรลืมนะ จริงๆแล้ว บางทีเค้าก็ไม่ให้ครับ เคยเห็นเพื่อนกลับบ้านมาแล้ว ฉะนั้นอย่าลืมบัตร!) แต่ถ้าใบม่วง รอแล้วรออีกก็ไม่มาซะที ก็ขอบอกว่าเดี๋ยวนี้เรามีช่องทางในการดูตารางสอบผ่านเว็บไซต์ และแอพลิเคชั่นแล้วจ้าาาาา ที่ RU-Services แอพก็หาโหลดในสโตรเลย สมัครสมาชิกของบริการนี้ก่อนนะครับ
เว็บไซต์ และแอพ นอกจากตารางสอบแล้ว จริงๆจุดประสงค์หลักคือเอาไว้ดูเกรดครับ เกรดออก เกรด F เกรด A ก็ดูผ่านเว็บนี่แหละ สะดวกมากมาย (แต่ส่วนภูมิภาคผลออกช้ามากมาย T_T อันนี้ไม่เกี่ยวกะเว็บ 55+)
อยากเรียนแล้ว จะสมัครยังไง!
สำหรับการสมัครนั้น สามารถสมัครได้ที่ศูนย์ภูมิภาคในจังหวัดที่ใกล้กับที่อยู่ปัจจุบันเราได้ครับ หรือถ้าอยู่กรุงเทพจะสมัครที่ส่วนกลางเลยก็ยิ่งดี โดยกำหนดการณ์เปิดรับสมัครนั้น จะมีมาเรื่อยๆ ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยครับ
ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ สำหรับครั้งแรก อันนี้ข้อมูลจากใบเสร็จนะครับ อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง
  • ค่าลงทะเบียนเรียน 25 บาท/หน่วยกิต (ถูกมากกกกกกกก // วิชาไหน 3 หน่วยกิต ก็ 75 บาทครับ)
  • ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 150 บาท
  • ค่าสมัครนักศึกษา 400 บาท
  • ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา 200 บาท
  • ค่าข่าวรามคำแหง 100 บาท(บังคับสมัครรับ 1 ปี หลังจากนั้นจะยกเลิกก็ได้ครับ)
  • ค่าบัตรประจำตัว 60 บาท
  • ค่าธรรมเนียมสอบ 20 บาท/หน่วยกิต
  • ค่าหนังสือเล่มละ 100บาท
สำหรับ นศ. ภาค 1/2559 ที่จะเป็นรอบสมัครรอบที่จะถึงนี้ ก็ตามแบนเนอร์ด้านบนเลย
การเตรียมเอกสาร ให้หารายละเอียดในเว็บไซต์ของศูนย์วิทยบริการ หรือเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัย หรือ Facebook เข้าไปถามครับ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด(ย้ำคำนี้บ่อย เพราะข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน คือข้อมูลจากทางมหาวิทยาลัยเอง)
ไปกดไลค์เอาไว้เด้อออออ
สำหรับใครมีคำถามเพิ่มเติม คอมเมนต์ไว้ได้ครับ อาจจะเอามาปรับปรุงในบทความ หากผมมีข้อมูลอะไร ผิดพลาดไป ต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์เนอะ
ส่งท้าย สำหรับน้องๆ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะให้โอกาสคนทุกคนได้มีโอกาสเรียนต่อระดับปริญญาตรีครับ พี่ภูมิใจที่ได้เป็นลูกพ่อขุน ซึ่งใครๆก็เรียนได้นั้น จริงดั่งคำพูดที่กล่าวกันมาครับ แต่ไม่ใช่ใครๆก็จบได้นะครับ ไม่จำเป็นจะต้องคิดว่าเรียนเพื่อที่ว่า จบ ม.6 แล้วจะเรียนรามอย่างเดียวก็ได้ครับ สำหรับพี่เองก็เรียนที่มหาวิทยาลัยอื่น ในคณะที่ชอบอื่นเช่นกัน แต่ก็เรียนรามไปด้วยเช่นกัน บางคนจะสอบตรงนิติศาสตร์ ก็ได้เก็บความรู้ไปในตัวครับ (อีกอย่างนิติรามขึ้นชื่อนะเออเอ้ย)
บางคนมาเพราะโอกาสทางการเงิน บางคนมาเพราะโอกาสในชีวิต บางคนมาเพราะต้องการจะได้ชื่อของรามคำแหง(คณะสายสังคม) แต่ไม่ว่าจะเช่นไร ที่นี่คือมหาวิทยาลัยแห่งโอกาสครับ >> เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง ครับผม!
อ่ะ แถมเพจพรีดีกรี สำหรับหาข้อมูลต่างๆด้วย

แสดงความคิดเห็น

6 ความคิดเห็น

  1. แล้วถ้าเรียนพรีดีกรีที่รามพอจบม.6มันสามารถใช้หน่วยกิตกับมหาลัยอื่นได้มั้ยคะ?

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยที่จะโอนย้ายไปครับ แต่ยังไงก็ตาม คงต้องขึ้นทะเบียนเป็น นศ รามฯ ก่อน(เทียบโอนจากพรีดีกรี) แล้วค่อยเทียบโอนไปยังที่อื่น

      ลบ
    2. แนะนำว่า ติดต่อมหาวิทยาลัยดีที่สุดครับ

      ลบ
  2. ถ้าเรียน​pre​degree​ แล้ว​เก็บหน่วยกิตไปเรื่อยๆแล้ว​ พอจบม.6อยากควบกับม.อื่นได้ไหมคะ​ อย่างอยากเรียนสายแพทย์แต่ลงนิติศาสตร์​ predegree​ ม.รามไปแล้วค่ะ​ สามารถควบเรียน2ม.ได้ไหมคะ

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  4. สอบถามหน่อยค่ะ คือหนูไม่มีวุฒิม3เพราะหนูข้ามไปเรียนม4เลย ใช้ยื่นได้มั้ยคะ

    ตอบลบ